พฤติกรรมการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

นานาพฤติกรรมการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล

ในปีนี้ มีหน่วยงานหลายภาคส่วนในบ้านเราได้มีการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล (กับธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ (Non-Bank) ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย: ธปท) โดยผลการสำรวจในทางการตลาดข้อมูลพบว่า ยังมีผู้บริโภคที่ต้องการใช้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทหนึ่งเพื่ออำนวยความสะดวกทางการเงินให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภครายย่อย เน้นที่กลุ่มคนที่มีงานทำและมีเงินเดือนประจำ แต่มีรายจ่ายไม่พอ หรือบางคนก็ต้องการสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการพัฒนาตนเอง บ้างต้องการความสมดุลในการยังชีพ ทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ถึงจะมีความต้องการใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมากแต่สถาบันการเงินก็ให้ความระมัดระวังการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ Non-Performing Loans (NPLs) เช่น ธนาคารออกจะเข้มงวดมากขึ้น เพราะไหนจะหนี้เก่า ไหนจะหนี้ใหม่ หากทางผู้ให้บริการหรือธนาคารเห็นว่าข้อมูลในเครดิตบูโรนั้นเสี่ยงต่อการผ่อนชำระไม่ไหว หรือมีสัญญาณส่อเค้าลางที่ไม่ได้ ก็จะต้องรอบคอบขึ้น โดยผู้ให้บริการจะกำหนดไว้ว่า ดีก็ทำให้มองว่าโอกาสที่ลูกค้าจะเป็นหนี้เสียมีสูง โดยบรรดาผู้ให้บริการจะตั้งเป้าไว้ว่า สัดส่วนหนี้ต้องไม่เกิน 70% ดังนั้น จากการสำรวจถอดรหัสได้ว่า แนวโน้มการขยายตัวสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น แต่เป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้ ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันของการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคล คือสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของบ้านเราและของโลก โดยถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวแล้วก็ตามที่ แต่ในตลาดยังคงมีความผันผวนอยู่ ก็ส่งผลกันเป็นลูกโซ่

ส่วนที่กล่าวว่าสินเชื่อส่วนบุคคลโตขึ้น ‥ นั่นเพราะ ดูจากการแข่งขันที่สูง และสถาบันการเงินต่างๆ ผู้ให้บริการต่างๆ เริ่มกลับเข้ามาเล่นในตลาดนี้ และเศรษฐกิจไทยก็เริ่มฟื้นตัวจากภาวะการเมืองด้วย ส่วนรัฐบาลเองก็มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบสม่ำเสมอ ส่งผลต่อการมีงานทำ เมื่อมีงานคนก็มีเงิน มีรายได้ ทั้งธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ (Non-Bank) ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยก็หันมาขยายฐานลูกค้ารายย่อยมากขึ้นด้วย อีกประการหนึ่ง เนื่องจากการอุปโภคบริโภคในบ้านเรายังคงมีอัตราสูงขึ้นไม่หยุด กอปรกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเองด้วย

ในส่วนของธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์ (Non-Bank) ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็อนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ค่อยยุ่งยากแม้จะสตริคดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ทำให้เกิดเป็นแรงจูงใจผู้บริโภคสนใจบริการด้วย แรงจูงใจที่ธนาคารงัดมาเรียกลูกค้า เล่น การเสนออนุมัติวงเงินที่มากกว่าคู่ต่อสู้ การไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีระยะเวลาผ่อนชำระนาน เงื่อนไขก็ไม่สลับซับซ้อน อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่มีค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น

ช่องทางที่ผู้บริโภคทราบหรือขอใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลนั่นมาจากการโฆษณาจากสื่อประเภทโทรทัศน์มากที่สุด และผู้บริโภคเลือกที่จะใช้บริการกับธนาคารมากกว่า ธนาคาที่ว่าคือธนาคารกรุงไทย ส่วนนอนแบงก์คืออิออน

ทั้งนี้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าลูกค้าของบริการสินเชื่อส่วนบุคคลจะเป็นผู้หญิงเสียมากกว่าผู้ชาย และมีอายุไม่เกิน 45 ปี ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนที่ค่อนข้างมีการศึกษา คือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีงานทำเป็นหลักแหล่ง ส่วนรายได้ต่อเดือนคือระหว่าง 10,000-20,000 บาท สำหรับวัตถุประสงค์ของลูกค้าที่ทำสินเชื่อส่วนบุคคล ได้แก่ เพื่อใช้จ่ายไปกับบริโภคมากกว่าใช้เพื่อชำระคืนหนี้สิน

แม้ว่าลูกค้าจะพิจารณาทำสินเชื่อส่วนบุคคลจากข้อมูลเชิงเทคนิค เช่น ดอกเบี้ย ระยะเวลาชำระหนี้ ฯ แต่อีกนัยหนึ่ง ลูกค้าก็ยังคงให้ความสำคัญกับการบริการเช่นกัน ได้แก่ การให้บริการด้วยความสุภาพ และการมีอัธยาศัยไมตรี รวมถึงช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและง่ายต่อการดำเนินชีวิต ทั้งนั้น ขั้นตอนการชำระต้องไม่ยุ่งยากด้วย

อย่างไรเสีย การมีสินเชื่อ หรือบัตรใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้สินหากใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง หรือมีพฤติกรรมการใช้สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไร้วินัย ก็จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างค่าใช้จ่ายกับ และจากข้อมูลภาครัฐที่กำกับดูแลเรื่องนี้ ก็มีข้อมูลที่ไม่น่าเป็นห่วงว่า ผู้ที่ใช้บริการสินเชื่อยังอยู่ในภาวะที่ยังมีความสามารถบริหารจัดการทั้งหนี้และรายจ่ายได้ การมีวินัยทางการเงินที่ดีส่งผลต่อสภาพการเงินเมื่ออยู่ในภาวะวิกกฤต เพราะเจ้าหนี้จะอนุมัติก็ต่อเมื่อประเมินศักยภาพของลูกหนี้แล้วว่ามีวินัยทางการเงินมากน้อยแค่ไหน แม้ลูกหนี้บางคนจะเป็นหนี้ แต่ทว่าสามารถบริหารภาระหนี้ได้ หรือในภาพรวมลูกหนี้นั้นยังคงสามารถบริหารจัดการเงินได้อยู่ และไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ก็ไม่เป็นปัญหาในการอนุมัติ

อีกนัยที่เมื่อประมวลรวมกันแล้วที่ทำให้สภาพของสินเชื่อไม่น่าเป็นห่วงก็เพราะต่างฝ่ายต่างตระหนักว่าคุณภาพของสินเชื่อเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กับการมีลูกค้าเพิ่มขึ้น

แล้วปีหน้าหน้าจะเป็นอย่างไร ‥ ในส่วนของปัญหาหนี้ปีหน้าก็ยังคงอาจมีอยู่ได้ (แม้ตัวเลขจะหน้าตกใจ คือ สูงกว่าร้อยละ 83 ของ GDP) แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจเกินเพราะก็มีแนวโน้มหนี้จะค่อยๆ คลี่คลาย เพราะปัญหาหนี้ใช้เวลาสางกันนาน แต่รัฐบาลได้ออกมาบอกว่าแล้วมีความเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ต่างจะเริ่มดีขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและย้ำนักย้ำหนาคือ การเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากหนี้นอกระบบ รัฐบาลมีแนวคิดว่าต้องเริ่มแก้ด้วยการสร้างรายได้ให้กับประชาชน โดยอาศัยกลยุทธ์สร้างโอกาสในการทำมาหากินและการมีความรู้ในการออมเงินควบคู่ไปด้วย