สินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร ยังไง

ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน ดังนั้น การมีเงินแต่เงินไม่พอใช้อันเนื่องมาจากเหตุจำเป็นบางอย่าง หรือหลายอย่าง ย่อมเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่ได้คาดคิด และไม่ได้อยู่ในแผนการดำเนินชีวิตเสียด้วยซ้ำไป หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินแบบปัจจุบันทันด่วนแต่มีเงินออมไม่พอ ไม่มีเงินรองรัง เราจะหันหน้าไปทางไหน หนทางออกทางหนึ่งที่ง่ายคือการขอสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลนี้เป็นสินเชื่อให้แก่บุคคลธรรมดา ในลักษณะที่ไม่ต้องวางทรัพย์สินเป็นเครื่องหรือหลักค้ำประกันใด สำหรับวัตถุประสงค์ของการขอสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ ก็เพื่อนำไปซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น ซื้ออุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ แล้วทำการผ่อนกับบริการสินเชื่อส่วนนั้น ๆ เป็นงวดไป

กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ เป็นหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลสินเชื่อส่วนบุคคล และได้ทำการแบ่งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคลไว้เป็น 3 แบบ คือ สินเชื่อส่วนบุคคลแบบทำสัญญาและรับเงินไปทั้งก้อน, สินเชื่อส่วนบุคคลแบบทำสัญญาเพื่อรับวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนโดยใช้บัตรกดเงินสดแล้วค่อย ๆ กดเงินออกมาเท่าที่ต้องการจะใช้ในแต่ละครั้ง และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ทำสัญญาเช่าซื้อสินค้าแต่ละชิ้น โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้สินเชื่อก่อน

ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นแบ่งได้ออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการสินเชื่อจะมีการกำหนดวงเงินสินเชื่อจากความสามารถในการชำระหนี้ของคุณในฐานะลูกหนี้ ผู้ให้บริการสินเชื่อสามารถอนุมัติวงเงินให้แก่ผู้ขอสินเชื่อแต่ละรายได้สูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ หรือไม่เกินยอดเฉลี่ยกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในบัญชีเงินฝากไม่น้อยกว่า 6 เดือน

การขอสินเชื่อส่วนบุคคลจะไม่กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำ ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องแจกแจงวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ กระนั้นก็ตาม ขึ้นชื่อว่าเงินๆ ทองๆ สินเชื่อใดๆ ก็ตาม ล้วนมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม สินเชื่อส่วนบุคคลจึงมีประโยชน์เมื่อใช้ตามความจำเป็น และต้องผ่อนชำระตามกำหนดอย่างเคร่งครัดด้วย เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อพูดกันด้วยเรื่องอัตราดอกเบี้ย ส่วนใหญ่แล้ว มีด้วยกันสองแบบคือดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่(Fixed Rate) กับอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่‥จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ผันแปร ไม่ขึ้นลงตามต้นทุนของแต่ละสถาบันการเงิน และดีที่คงที่ตลอดอายุสัญญา ยกตัวอย่าง เช่น ในระยะเวลาผ่อนชำระ 4 ปี นั้น ต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ‥จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปร หรือเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนของสถาบันการเงินนั้นๆ หรือเป็นคราวๆ วาระๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR MOR MRR คำว่าต้นทุนของธนาคารนั้นเกี่ยวเนื่องกับหลายอย่าง อาทิเช่น สภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ‥ แล้ว MLR MOR MRR คืออะไร

MLR หรือ Minimum Loan Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ที่มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มักใช้กับสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

MOR หรือ Minimum Overdraft Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ที่มีประวัติการเงินที่ดี แต่เป็นประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี และ

MRR หรือ Minimum Retail Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยที่มีประวัติการเงินที่ดี มักใช้กับการทำสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัย

สำหรับรูปแบบของสินเชื่อส่วนบุคคลในบ้านเราที่ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่างได้ดังนี้ สินเชื่อบัตรกดเงินสด โดยเป็นการใช้บัตรกดเงินสดไปเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มได้เลย , สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทเงินก้อน เหมาะกับคนที่มีรายได้สม่ำเสมอและมีความมั่นคง จำพวกพนักงานประจำ พนักงานของรัฐ และในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทนี้ยังแบ่งย่อยเป็น สินเชื่ออเนกประสงค์, สินเชื่อเงินก้อนเพื่อวัตถุประสงค์จำเพาะอย่าง, สินเชื่อรีไฟแนนซ์หรือเพื่อการโอนหนี้

สำหรับรูปแบบของสินเชื่อส่วนบุคคลในบ้านเราที่ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่างได้ดังนี้ สินเชื่อบัตรกดเงินสด โดยเป็นการใช้บัตรกดเงินสดไปเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มได้เลย , สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทเงินก้อน เหมาะกับคนที่มีรายได้สม่ำเสมอและมีความมั่นคง จำพวกพนักงานประจำ พนักงานของรัฐ และในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทนี้ยังแบ่งย่อยเป็น สินเชื่ออเนกประสงค์, สินเชื่อเงินก้อนเพื่อวัตถุประสงค์จำเพาะอย่าง, สินเชื่อรีไฟแนนซ์หรือเพื่อการโอนหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติได้กำหนดให้ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลสามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ย , ค่าปรับ, ค่าบริการ หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี โดยต้องคำนวณแบบลดต้นลดดอก

ในดีมีเสียของสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่ออื่นๆ ต่างมีทั้งดีและเสียคู่กันไป

ข้อดีของสินเชื่อส่วนบุคคลคือ

‥หากคุณไม่มีหลักประกัน จะได้รับวงเงินแค่ห้าเท่าของรายได้ หากมีหลักประกันจะได้รับวงเงินไม่เกิน 90% ของราคาประเมินหลักทรัพย์

‥ผ่อนชำระได้ในระยะยาวแบบลดต้นลดดอกและอัตราคงที่ตลอดอายุสัญญา

ส่วนข้อเสียคือ

‥ผูกมัดให้ต้องผ่อนชำระทุกเดือนจนหมดสัญญา

‥ต้องหาหลักทรัพย์มาค้ำประกัน หากจะขอวงเงินจำนวนมากๆ

‥ หากเป็นเพื่อการโอนหนี้ รีไฟแนนซ์ หนี้เดิมที่รีไฟแนนซ์จะต้องไม่เป็นหนี้ที่มีค่าปรับล่าช้า

การขอสินเชื่อส่วนบุคคลจะต้องเตรียมเอกสารประจำตัวให้พร้อม อาทิเช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร และสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลได้

ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลในเบื้องต้นที่ผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลควรรู้ไว้บ้าง ที่สำคัญที่สุดต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ และมีวินัยในการใช้เงินด้วยจะดีที่สุด